มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้งลำปาง ขอขอบคุณอาจารย์สุพรรณ พรหมเสน ที่ได้ให้โอกาสทีมงานของมหาวิทยาลัยฯ ได้เข้าไปยังสถานที่ผลิตกระดาษทำมือ ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และได้เรียนรู้กระบวนการผลิตกระดาษเพื่อใช้สำหรับงานศิลปะในหลายรูปแบบและหลากกรรมวิธี ก่อนเดินทางกลับ ทีมงานนำโดย ดร.ขวัญนภา สุขคร พร้อมทั้ง ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.วรรณา พิเชฐพฤทธ์ อาจารย์ผู้สอนวิชาศิลปะ ซื้อกระดาษเพื่อนำมาใช้ในงานศิลปะ โดยจะใช้สีจาก ครั่ง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนาไปเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์เมืองลำปาง
รู้จักและเข้าใจ “โกโก้”
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ ฯ ลำปาง ขอขอบคุณ คุณปฐม มีแก้ว เจ้าของร้าน Thai Coffee & Cocoa Co-learning Space และศูนย์การเรียนรู้บริษัทไทยคอฟฟี่ & โกโก้จำกัด ที่ได้ให้เราไปเรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายเกี่ยวกับโกโก้ และการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้ ภายใต้กิจกรรม “ตามรอยเส้นทางโกโก้” สู่การต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้นครลำปาง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้บริษัทไทยคอฟฟี่ & โกโก้จำกัด ภายในงานมีกิจกรรมการฟังบรรยายพร้อมจิบน้ำโกโก้และขนมจากโกโก้ และอบรมปฏิบัติการการแกะเมล็ด และหมัก โดยคุณปฐมได้แชร์เทคนิค เคล็ดลับแบบจัดเต็ม ก่อนกลับผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ชอคโกแลตกลับบ้านกันถ้วนหน้า ชุดโครงการ: การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรมโดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปางได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตามรอยเส้นทางโกโก้
คุณเคยเห็นต้นโกโก้มั้ย?? แล้วรู้หรือไม่ โกโก้แปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง ?? มาเรียนรู้ไปด้วยกันตั้งแต่ต้นน้ำ – ปลายน้ำ และการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้ในจังหวัดลำปาง รับสมัครผู้สนใจ อบรมเชิงปฏิบัติการตามรอยเส้นทางโกโก้ไปด้วยกัน รับเพียง 30 คนเท่านั้น สแกน QR CODE แล้วสมัครเลย กิจกรรม ” ตามรอยเส้นทางโกโก้ ” สู่การต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้นครลำปาง 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 13.00 – 16.00 น.ณ ศูนย์การเรียนรู้บริษัทไทยคอฟฟี่ & โกโก้จำกัด ภายใต้ชุดโครงการ: การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปางได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และนักวิจัยในพื้นที่ ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่ ” กองคร้าฟต์ “
🍃ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้นำชุมชน ประชาคม และนักวิจัยในพื้นที่ ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่ ” กองคร้าฟต์ ” พื้นที่ทุนทางวัฒนธรรมชุมชน เมืองลำปาง 🍂กองคราฟต์ ณ.กองต้า กิจกรรมการร่วมตัวของกลุ่มคนคราฟต์ลำปาง เพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้อัตลักษณ์เมืองลำปาง พัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากฐานทุนทางวัฒนธรรมและต่อยอดเชิงธุรกิจ🍃โดยการสนับสนุนภายใต้ 🚩โครงงานวิจัย : ” การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมชุมชน ผ่านกลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาสังคม เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ ” ด้วยบริบท ” การพัฒนาย่านเมืองเก่าด้วยผลิตภัณฑ์ครัวเรือนจากทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง ” งานวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร และ🚩โครงการวิจัย:การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม “งานวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต “🔻ด้วยทุน ” หน่วยบริหาร และจัดการทุนวิจัย และนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ( บพท.) กระทรวง กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
รัก ครั่ง มัด ย้อม ที่สวนดุสิต
มหาวิทยาลัยสวนดุสิตจัดกิจกรรม SDU Learning Space เรียนรู้ภูมิปัญญาจาก “ครั่ง” สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์เมืองลำปาง ผ่านการอบรมการมัดย้อมจากสีย้อมครั่ง โดย คุณเทิดศักดิ์ อินแสง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ ลานหน้าโรงยิม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปางโดยจัดกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องสีธรรมชาติที่ใช้ในการย้อมผ้า เช่น ครั่ง คราม ขมิ้น และการผสมสีเข้าด้วยกัน รวมถึงเทคนิคการสร้างลวดลายบนผืนผ้า ทั้งการเย็บ พับ หนีบ มัด และเทคนิคที่น่าสนใจอีกมากมายก่อนลงย้อมหลากหลายสี ในงานนี้ ผู้เข้าอบรมได้รับผลงานที่ผ่านการมัด ปัก ย้อม กลับบ้านด้วยความภาคภูมิใจ โครงการวิจัย : พัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมภายใต้ชุดโครงการ: การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปางได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
การประชุมเตรียมความพร้อมลำปางสู่การเป็น Smart City
องค์บริหารส่วนจังหวัดลำปาง จัดการประชุมตรียมความพร้อมลำปางสู่การเป็น Smart City โดยมี นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในที่ประชุมร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) หน่วยงานรัฐ และภาคีเครือข่ายในจังหวัดลำปาง ร่วมหารือ และให้แนวคิดและองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาเมือง (smart city) โดย ดร.ขวัญนภา สุขคร หัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปาง ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนลำปางสู่เมืองอัจฉริยะ ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
ทีมวิจัยสวนดุสิต ศึกษาดูงาน และเรียนรู้กระบวนการพัฒนาสินค้าจากครั่ง
ลำปางยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมาย.….…….มาเรียนรู้ตัวเอง…เพื่อขับเคลื่อนอนาคต ขอขอบพระคุณ คุณอนุศิษฏ์ ภูวเศรษฐ บริษัท ครีเอเซียมิลล์ จำกัด อดีตกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยคุณอภิชัย สัชฌะไชย และภรรยา จากบริษัท นอร์ทเทอร์สยามซีดแลค จำกัด ที่กรุณาให้ทีมวิจัยของสวนดุสิต ศึกษาดูงานเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2564 และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาสินค้าจากครั่ง เชิงเกษตรแปรรูปเพื่อการพาณิชย์ โดยใช้ระบบกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เพื่อการส่งออกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยมีประเภทของสินค้าคือ ครั่งเม็ดแปรรูป และ สีผสมอาหาร สกัดจากครั่งธรรมชาติ (เจ้าแรกและเจ้าเดียวในประเทศไทย) และการผลิต แชลแล็คขาวชนิด Bleached Shellac (Dewaxed) เกรดอุตสาหกรรมอาหารและยา ส่งจำหน่วยทั่วโลก มาร่วมพัฒนาและสร้างนวัตกรรมต่อยอดครั่งลำปางกันนะคะ
ทีมวิจัยสวนดุสิต ศึกษาดูงาน และเรียนรู้กระบวนการพัฒนาสินค้าจากครั่ง
🍂ลำปางยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมาย.….…….มาเรียนรู้ตัวเอง…เพื่อขับเคลื่อนอนาคต🚩ขอขอบพระคุณ คุณอนุศิษฏ์ ภูวเศรษฐ บริษัท ครีเอเซียมิลล์ จำกัด อดีตกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยคุณอภิชัย สัชฌะไชย และภรรยา จากบริษัท นอร์ทเทอร์สยามซีดแลค จำกัด ที่กรุณาให้ทีมวิจัยของสวนดุสิต ศึกษาดูงานเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2564 และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาสินค้าจากครั่ง เชิงเกษตรแปรรูปเพื่อการพาณิชย์ โดยใช้ระบบกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เพื่อการส่งออกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยมีประเภทของสินค้าคือ ครั่งเม็ดแปรรูป และ สีผสมอาหาร สกัดจากครั่งธรรมชาติ (เจ้าแรกและเจ้าเดียวในประเทศไทย) และการผลิต แชลแล็คขาวชนิด Bleached Shellac (Dewaxed) เกรดอุตสาหกรรมอาหารและยา ส่งจำหน่วยทั่วโลก 🌸มาร่วมพัฒนาและสร้างนวัตกรรมต่อยอดครั่งลำปางกันนะคะ
ทำบล็อกปูพื้นจากขยะพลาสติกกันที่ สวนอากง
สวนอากง ร่วมกับ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง และ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง ชวนมาเรียนรู้ “วิธีทำบล็อกปูพื้นจากขยะพลาสติก” เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ สวนอากง กิจกรรมนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เวชสวรรค์ หล้ากาศ และทีมงานจิตอาสากรีนโรดเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการทำถนน รองเท้า กล่อง หลังคา บล็อก ฯ จากขยะพลาสติก รวมถึงได้สาธิตการทำบล็อกจากขยะพลาสติก กิจกรรมนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากประชาชน ภาคีเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร้านรับซื้อของเก่า ทั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อจะได้ต่อยอดกิจกรรม นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ต่อไป โครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ยภายใต้ชุดโครงการ: การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปางได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
การบรรยาย“การพัฒนาลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้” โดย คุณดุริยา อมตวิวัฒน์
มหาวิทยาลัยสวนดุสิตจัดกิจกรรม การบรรยายพิเศษ “การพัฒนาลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้” โดย คุณดุริยา อมตวิวัฒน์ ตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักปลัดการทรวงศึกษาธิการ อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโก เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 – 11.30 น.ผ่าน Application Zoom คุณดุริยา ได้ให้ความรู้เรื่อง การพัฒนาเมืองเพื่อเข้าสู่เครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกโดยได้เสนอ จุดเน้น 3 เรื่อง ประกอบด้วยGreen and Healthy Learning CitiesEquitable and Inclusive Learning CitiesEmployment and Entrepreneurship in Learning Citiesรวมถึงแนวทางในการพัฒนา ลักษณะสำคัญของเมืองแห่งการเรียนรู้ ขั้นตอนการรับสมัคร และกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ในงานนี้มีทีมวิจัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก #มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ลำปางพัฒนาเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวิจัย : พัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมภายใต้ชุดโครงการ: การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปางได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ …