หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน เป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภายใต้กระบวนการแห่งการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น หรือย่านสำคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของเมืองต่างๆ “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น” ในรูปแบบที่นิยม คือ “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” นับเป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่ง ที่มีพลังและความสามารถในการเป็นกลไกแห่งการอนุรักษ์และเชื่อมโยงการพัฒนาท้องถิ่นในมิติต่างๆ ไปอย่างควบคู่ ด้วยพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในรูปแบบมีชีวิตนั้น เป็นวิธีการบริหารจัดการที่เกิดขึ้นจากกระบวนการมีส่วนร่วม ความต้องการ และความเข้าใจในบริบทท้องถิ่น ของคนในท้องถิ่นนั้น เพื่อแสดงบทบาทต่างๆ ในฐานะเจ้าของทรัพยากร ซึ่งในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีชีวิตแห่งหนึ่งในท้องถิ่น ชุมชน หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งขึ้นมานั้น หลักสำคัญของกระบวนการเริ่มต้น คือ กระบวนการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นจากคนในท้องถิ่น ชุมชน หรือพื้นที่ โดยมีความสำคัญอยู่ที่ประชาชนซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนและจำเป็นต้องสร้างความเป็นชุมชนจากการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของด้วยการกำหนดอาณาเขตและความรู้สึกอยู่ร่วมกันมีพื้นที่ส่วนใช้สอยสาธารณะเพื่อการทำกิจกรรมร่วมกัน อาศัยเครือข่ายเป็นคณะทำงานเพื่อจัดระเบียบและสานพลังของกลไกทุกฝ่ายเข้าด้วยกันในการตอบสนองความต้องการของประชาชนและแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนและเป็นพลวัตรมากขึ้นโดยเป้าหมายท้ายสุดของการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นจะต้องสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ของคนรุ่นปัจจุบันและในอนาคตในท้องถิ่น ชุมชน หรือพื้นที่นั้นๆ ได้ โดยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสามารถและทรัพยากรของชุมชนที่มีอยู่หรือชุมชน สามารถจัดหามาได้ตามศักยภาพของตนเอง ประกอบกับในปัจจุบันย่านชุมชนเก่าเริ่มเป็นที่สนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ อีกทั้งหน่วยงานและองค์กรการเรียนรู้ต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในการสร้างพิพิธภัณฑ์มีชีวิต เพื่อพยายามนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับการมีส่วนร่วมธำรงรักษาไว้ซึ่งวิถีวัฒนธรรมหรือรูปแบบพัฒนาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติขององค์กรที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

สำหรับเมืองลำปางหรือนครลำปาง จากประวัติศาสตร์ทางสังคมวัฒนธรรมกว่า 1,300 ปี ที่ได้ลำดับพัฒนาการแห่งยุคสมัยต่างๆ ได้ก่อให้เกิดเป็นย่านเมืองเก่าสำคัญที่ยังคงมีพลวัตร สะท้อนบทบาททางวิถีสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นนับแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยหนึ่งในย่านเมืองเก่าสำคัญ              ที่มีความน่าสนใจ คือ “ย่านสบตุ๋ย” ชุมชนบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟนครลำปางบนเส้นทางถนนประสานไมตรี เป็นย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของพ่อค้าชาวจีน และเป็นย่านแห่งความทันสมัยที่เกิดขึ้นพร้อมกับการมาถึงของเส้นทางรถไฟสายเหนือ เมื่อปี พ.ศ.2459 ดังนั้น โครงการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย จึงเป็นโครงการที่นำเสนอเพื่อการศึกษาและการพัฒนาพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม เป็นกลไกในการอนุรักษ์ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ควบคู่กับการสร้างวิธีคิดและการทำงานที่เปิดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำงานของพิพิธภัณฑ์ โดยอาศัยต้นทุนทางสังคมวัฒนธรรมและอัตลักษณ์สะท้อนความเป็นเมืองลำปางที่เด่นชัด โดยมุ่งสร้างชุดความรู้ในการผลักดันลำปางให้เป็นเมืองอัจฉริยะด้วยนวัตกรรมที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับชุมชน และการออกแบบระบบนิเวศด้านการพัฒนาเมืองระดับย่านและระดับเมือง โดยใช้รูปแบบการลงทุนและการระดมทุนในการพัฒนาเมืองในอนาคต อันเป็นแนวทางแห่งการอนุรักษ์และการพัฒนาเพื่อยกระดับการออกแบบวางแผนเชิงพัฒนาและการธำรงรักษาคุณค่าแห่งอัตลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมของพื้นที่ย่านสบตุ๋ยให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นควบคู่ไปกับกระแสการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจของโลกในยุคปัจจุบันผ่านการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกัน

โครงการย่อยที่ 2 : การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย

กิจกรรมที่ 1 : จัดทำแผนที่ความรู้(Knowledge Map) และจัดการความรู้ฐานทุนทางสังคมวัฒนธรรมย่านสบตุ๋ย

  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “สบตุ๋ยย่านเศรษฐกิจสำคัญลำปางกับพัฒนาการและการธำรงอยู่” เพื่อจัดทำฐานข้อมูลบุคคล ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ฐานข้อมูลสถิติ ด้านเศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม ฐานความรู้ชุดข้อมูล ภูมิหลัง ภูมิเมือง ภูมิวงค์ ภูมิธรรม จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 50 คน
  • สังเคราะห์ข้อมูลและลงพื้นที่สำรวจเพื่อจัดทำ Knowledge Map
  • การจัดกิจกรรมเวทีสาธารณะ (Lampang Public Forum) สบตุ๋ยในมุมมองจากภูมิหลังสู่ภูมิอนาคต จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 50 คน

กิจกรรมที่ 2 : ออกแบบและจัดกิจกรรมพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย

  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกำหนดรูปแบบและออกแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต จำนวน 1 ครั้งๆ ละ 50 คน
  • ลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ์เชิงลึก
  • ออกแบบสื่อ จัดนิทรรศการ จัดกิจกรรม สื่อประชาสัมพันธ์ และจัดทำเส้นทางพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย ประกอบด้วย
    • พิพิธภัณฑ์กินได้ อาหารในตำนานย่านสบตุ๋ย
    • พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านเก่าเล่าความหลัง
    • พิพิธภัณฑ์ถนนความรู้ (เรียนรู้วิถีชีวิต ผู้คนและแหล่งเรียนรู้ย่าน)

โดยกำหนดขนาดของพื้นที่ Sand Box ที่จะทำเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิตครอบคลุมพื้นที่สถานีรถไฟลำปาง เส้นทางกาดเก๊าจาว สะพานดำ ถนนประสานไมตรี และสุเรนทร์ ครอบคลุ่มพื้นที่ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร เพื่อสร้างย่านท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่เกิดจากฐานของภูมิทางสังคมวัฒนธรรม สร้างแบรนด์อัตลักษณ์ท่องเที่ยวย่านสบตุ๋ยให้เป็นที่รู้จัก เพิ่มเสน่ห์ทางการท่องเที่ยวสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจเกิดอาชีพสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

  • จัดทำระบบฐานข้อมูล Open Data พิพิธภัณฑ์มีชีวิต และสื่อการเรียนรู้การเรียนรู้รูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วยฐานข้อมูลบุคคล ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ฐานข้อมูลสถิติ ด้านเศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม ฐานความรู้ชุดข้อมูล ภูมิหลัง ภูมิเมือง ภูมิวงค์ ภูมิธรรม และฐานข้อมูลการเชื่อมโยงเส้นทางพิพิธภัณฑ์กินได้ อาหารในตำนานย่านสบตุ๋ย พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านเก่าเล่าความหลัง พิพิธภัณฑ์ถนนความรู้ (เรียนรู้วิถีชีวิต ผู้คนและแหล่งเรียนรู้ย่าน) เผยแพร่ให้ผู้สนใจเข้าถึงง่ายและนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆในการพัฒนาต่อยอด
  •  

กิจกรรมที่ 3 : SDU Learning spaec เปิดพื้นที่การเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จัดกิจกรรมและรูปแบบการเรียนรู้ คลอบคลุมคุณลักษณะสำคัญที่จะนำไปสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ 6 ประการ ตามที่องค์การยูเนสโก เปิดพื้นที่การเรียนรู้ กิจกรรมความรู้ที่สร้างรายได้ พัฒนาอาชีพสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย

  • ตลาดนัดการเรียนรู้คนสามวัย (3GEN) ณ ศูนย์เสริมประสบการณ์ฯ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง ออกแบบการเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ภายใต้แนวคิดพหุปัญญา (Multiple Intelligence : MI) และจัดกิจกรรมการเรียนรู้แนวคิดพหุปัญญา (Multiple Intelligence : MI) จำนวน 6 ครั้งๆละ 30 คน
  • SDU Library Park  เปิดพื้นที่การเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งเสริมการอ่าน ดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรม อาหาร การละเล่น   จำนวน 6 ครั้งๆ
  • SDU Learning space  For all  กิจกรรมการพัฒนาทักษะและอาชีพเพื่อการเรียนรู้เพื่ออนาคต
    • กิจกรรมเรียนรู้สร้างสรรค์ สารพันทักษะให้กับโรงเรียนในพื้นที่สบตุ๋ย  จำนวน 6 ครั้งๆละ 30 คน

กิจกรรม Cooking is my passion จำนวน 6 ครั้งๆละ 15 คน