Showing: 1 - 9 of 9 RESULTS
การประชุม

ประชุมเครือข่ายตลาดวัฒนธรรม ณ วัดเกาะวาลุการาม

ดร.ขวัญ ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม (Lampang Learning City) เข้าร่วมประชุมเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลำปาง ภายใต้โครงการ การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมชุมชนผ่านกลไกลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาสังคม เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ ณ วัดเกาะวาลุการาม ชุมชนกาดกองต้า เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 14.00 – 17.00 น. การประชุมครั้งนี้จัดโดยเทศบาลนครลำปาง ร่วมกับ คณะนักวิจัย เครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า ตัวแทนผู้ค้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้กราบนมัสการพระอธิการสุชาติ จนฺทสโร เจ้าอาวาสวัดเกาะวาลุการาม เข้าร่วมพูดคุย เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ และพิจารณาแนวทางในการดำเนินงานต่อไป

การประชุม

บรรยาย ลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ ในโครงการเสริมสร้างกลไกการพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชน

ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม (Lampang Learning City) รับเกียรติเป็น วิทยากรบรรยาย “ลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ Lampang Learning City” ในโครงการเสริมสร้างกลไกการพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุครบ 100 ตำบล ณ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง โดยโรงเรียนผู้สูงอายุถือเป็นอีกหนึ่งในรูปแบบของพื้นที่การเรียนรู้ในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ Lampang Learning City ในครั้งนี้

การประชุม สำนักงานจังหวัดลำปาง

การประชุมเตรียมความพร้อมลำปางสู่การเป็น Smart City

องค์บริหารส่วนจังหวัดลำปาง จัดการประชุมตรียมความพร้อมลำปางสู่การเป็น Smart City โดยมี นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในที่ประชุมร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) หน่วยงานรัฐ และภาคีเครือข่ายในจังหวัดลำปาง ร่วมหารือ และให้แนวคิดและองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาเมือง (smart city) โดย ดร.ขวัญนภา สุขคร หัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปาง ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนลำปางสู่เมืองอัจฉริยะ ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

การประชุม ข่าวประชาสัมพันธ์

การบรรยาย“การพัฒนาลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้” โดย คุณดุริยา อมตวิวัฒน์

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตจัดกิจกรรม การบรรยายพิเศษ “การพัฒนาลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้” โดย คุณดุริยา อมตวิวัฒน์ ตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักปลัดการทรวงศึกษาธิการ อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโก เมื่อวันที่  21 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 – 11.30 น.ผ่าน Application Zoom คุณดุริยา ได้ให้ความรู้เรื่อง การพัฒนาเมืองเพื่อเข้าสู่เครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกโดยได้เสนอ จุดเน้น 3 เรื่อง ประกอบด้วยGreen and Healthy Learning CitiesEquitable and Inclusive Learning CitiesEmployment and Entrepreneurship in Learning Citiesรวมถึงแนวทางในการพัฒนา ลักษณะสำคัญของเมืองแห่งการเรียนรู้ ขั้นตอนการรับสมัคร และกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ในงานนี้มีทีมวิจัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก #มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ลำปางพัฒนาเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวิจัย : พัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมภายใต้ชุดโครงการ: การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปางได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ …

การประชุม สบตุ๋ย

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ย่านเศรษฐกิจสำคัญลำปาง กับพัฒนาการและการธำรงอยู่”

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การนอกที่ตั้งลำปาง โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และ หน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้“ย่านเศรษฐกิจสำคัญลำปาง กับพัฒนาการและการธำรงอยู่” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ กิจกรรมจัดทำแผนที่ความรู้ (Knowledge Map) และจัดการความรู้ทุนทางสังคมวัฒนธรรมย่านสบตุ๋ย โครงการวิจัยพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย ภายใต้ชุดโครงการวิจัย : การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม เมื่อ วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 ให่วิทยาลัยสวนดุสิต โดย ดร.ขวัญนภา สุขครผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และหัวหน้าชุดโครงการวิจัย เป็นผู้นำเสนอกรอบคิดการวิจัยในภาพรวม และมีวิทยากรร่วมเวทีเสวนา ดังนี้>> คุณกิตติ จิวะสันติการรองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครลำปางและ หัวหน้าโครงการวิจัย >> อาจารย์จันทร์สม เสียงดีผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง >> รศ.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และพัฒนาการของเมือง>> คุณอุดมสิน หาญเมธีเจ้าของกิจการและนักออกแบบด้านเซรามิกและผลิตภัณฑ์ ร้านเคลย์ช็อป Clay Shop …

การประชุม

ประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ภายใต้ชุดโครงการวิจัย : การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม      ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในวันพฤหัสบดี ที่ 19 สิงหาคม 2564 ณ หอประชุมชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง จังหวัดลำปาง โดยการจัดประชุมครั้งนี้ นำโดย ดร.ขวัญนภา สุขคร หัวหน้าชุดโครงการวิจัยการพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นผู้นำเสนอภาพรวมของกรอบคิดการวิจัย และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ (Lampang Learning City) และการระดมความคิดเห็นจัดทำแผนปฏิบัติการและคู่มือปฏิบัติงานเครือข่ายลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้

การประชุม สบตุ๋ย

การประชุมกลุ่มย่อย การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง จัดการประชุมเตรียมความพร้อมกิจกรรมลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้ชุดโครงการ การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม โครงการวิจัยย่อย โครงการวิจัยพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย     ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในวันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564 ณ ห้องดุสิตา 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง จังหวัดลำปาง นำโดย ดร.ขวัญนภา สุขคร หัวหน้าโครงงานวิจัย เป็นประธานในที่ประชุม

การประชุม

ประชุมเชิงปฏิบัติการ “ลำปาง ฟอรั่ม” วิทยสถานแห่งการพัฒนาจังหวัดลำปาง ครั้งที่ 3 (LAMPANG FORUM #3)

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จังหวัดลำปาง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “ลำปาง ฟอรั่ม” วิทยสถานแห่งการพัฒนาจังหวัดลำปาง ครั้งที่ 3 (LAMPANG FORUM #3) วันที่ 8 มีนาคม 2564 ณ หอประชุมชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง จังหวัดลำปาง โดยการจัดประชุมครั้งนี้มีการระดมความคิดเห็นจากองค์กรภาคประชาชนกว่า 60 แห่ง อาทิ สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดลำปาง สมาคมการท่องเที่ยว จังหวัดลำปาง สถาบันธรรมาภิวัฒน์ สมัชชาการศึกษาจังหวัดลำปาง เครือข่ายพุทธศิลป์ ชมรมครูทัศนศิลป์จังหวัดลำปาง ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรอบการศึกษาและการขับเคลื่อนงานลำปางศึกษา (Lampang Study) และการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ที่จะไปสู่การกำหนดกรอบการเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลหรือ Data Science พัฒนาสู่การเป็นหอศิลปวิทยาการของจังหวัดลำปาง

การประชุม

เวทีการประชุม Lampang Forum 2

เวทีประชุม Lampang Forum #2 ครั้งนี้ จัดขึ้นในวันที่ 19 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปาง โดย ม.สวนดุสิต ศูนย์ลำปาง จัดกิจกรรมที่บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ เพื่อระดมสมองระดมความคิดเห็นว่าด้วยการพัฒนาจังหวัดลำปาง เพื่อค้นหาหลักคิดสำคัญเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นโจทย์งานวิจัยเพื่อนำไปสู่กรอบความคิดในการพัฒนาเมืองลำปางที่ชัดเจนและบรรลุสู่เป้าหมายมากขึ้น ในงานนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นทั้งในเชิงประสบการณ์และองค์ความรู้ ต่อการพัฒนาจังหวัดลำปางอย่างคับคั่ง โดยมีภาคส่วนเข้าร่วมอย่างครอบคลุมจากทั่วจังหวัดลำปาง ได้แก่ ภาครัฐจำนวน 27 หน่วยงาน ภาคธุรกิจและเอกชนจำนวน 8 หน่วยงาน ภาคการท่องเที่ยวจำนวน 12 หน่วยงาน ภาควัฒนธรรมจำนวน 16 หน่วยงาน ภาคเกษตรจำนวน 15 หน่วยงาน ภาคทรัพยากรธรรมชาติจำนวน 2 หน่วยงาน        ภาคการศึกษาจำนวน 7 หน่วยงาน และภาคประชาชนซึ่งเป็นปราชญ์หรือกุญแจสำคัญในการ         ให้ข้อมูลด้านต่าง ๆ อีกหลายท่าน รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวนกว่า …