Showing: 51 - 56 of 56 RESULTS
ข่าวประชาสัมพันธ์ สบตุ๋ย

 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ย่านเศรษฐกิจสำคัญลำปาง กับพัฒนาการและการธำรงอยู่”

 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ย่านเศรษฐกิจสำคัญลำปาง กับพัฒนาการและการธำรงอยู่” วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปาง  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การนอกที่ตั้งลำปาง โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และ หน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้“ย่านเศรษฐกิจสำคัญลำปาง กับพัฒนาการและการธำรงอยู่”>>ในกิจกรรมจัดทำแผนที่ความรู้ (Knowledge Map) และจัดการความรู้ทุนทางสังคมวัฒนธรรมย่านสบตุ๋ย โครงการวิจัยพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย>>ภายใต้ชุดโครงการวิจัย : การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม  นำเสนอกรอบคิดการวิจัยในภาพรวมโดย ดร.ขวัญนภา สุขครผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและ หัวหน้าชุดโครงการวิจัย วิทยากรร่วมเวทีเสวนา>> คุณกิตติ จิวะสันติการรองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครลำปางและ หัวหน้าโครงการวิจัย >> อาจารย์จันทร์สม เสียงดีผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง >> รศ.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และพัฒนาการของเมือง>> คุณอุดมสิน หาญเมธีเจ้าของกิจการและนักออกแบบด้านเซรามิกและผลิตภัณฑ์ ร้านเคลย์ช็อป Clay Shop >> ดร.เหนือขวัญ …

ข่าวประชาสัมพันธ์ สบตุ๋ย

เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม “บ๊ะจ่างสูตรโบราณ อาหารในตำนานย่านสบตุ๋ย”

 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)>> ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “บ๊ะจ่างสูตรโบราณ อาหารในตำนานย่านสบตุ๋ย”ในวันอังคารที่ 24 สิงหาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 08.30 -12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการอาหารมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปางอบรมฟรี!!!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย>>ผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ที่นายจาตุรงค์ แก้วสามดวง ผู้ประสานงานโครงการวิจัยย่อย การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย (กิจกรรม Cooking is my passion SDU Learning Space)โทร.084-0423558(รับจำนวนจำกัดเพียง 12 ท่าน เท่านั้น)

ข่าวประชาสัมพันธ์ สบตุ๋ย

การอบรมเชิงปฎิบัติการ “การทำขนมปุยฝ้าย” เพื่อคนสบตุ๋ย

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “การทำขนมปุยฝ้าย” เมื่อวันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 09.00 -12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการอาหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปาง ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้ชุดโครงการ การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม โครงการวิจัยย่อย โครงการวิจัยพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย กิจกรรม Cooking is my passion: SDU Learning Space. กิจกรรมนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 12 คน ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ขนมปุยฝ้าย และวัฒนธรรมอาหาร และขนม ของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านสบตุ๋ย และลงมือปฏิบัติตั้งแต่ขั้นตอนแรก โดยมีอาจารย์สุรีย์พร ธัญญะกิจ ประธานสาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง เป็นวิทยากรผู้บรรยายและทำการสาธิต

ข่าวประชาสัมพันธ์ สบตุ๋ย

เชิญเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “การทำขนมปุยฝ้าย”

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “การทำขนมปุยฝ้าย” ในวันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 09.00 -12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการอาหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปางอบรมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ที่ นายจาตุรงค์ แก้วสามดวง ผู้ประสานงานโครงการวิจัยย่อย การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ปละพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย (กิจกรรม Cooking is my passion SDU Learning Space)โทร.084-0423558 (รับจำนวนจำกัดเพียง 12 ท่าน เท่านั้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ ท่ามะโอ

ทีมวิจัยลงพื้นที่ ชี้แจงและเตรียมการดำเนินงานวิจัย ร่วมกับชุมชนท่ามะโอ

ในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 นักวิจัยในโครงการวิจัย “การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และกระบวนการสร้างคุณค่าจากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยเสน่ห์ทางการท่องเที่ยววิถีชีวิตย่านท่ามะโอ” ภายใต้ชุดโครงการวิจัย : การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ลงพื้นที่เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงาน ชี้แจงและเตรียมการดำเนินงานวิจัย ร่วมกับนักวิจัยในพื้นที่และตัวแทนของชุมชนท่ามะโอ ณ บ้านหลุยส์ ที เรียวโนแวนส์ ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาข้อมูลฐานภูมิวัฒนธรรมผ่าน 5 ภูมิวัฒนธรรม เพื่อจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรม พัฒนาพื้นที่เรียนรู้ รวมถึงพัฒนากิจกรรมทางการท่องเที่ยวในรูปแบบสร้างสรรค์และพัฒนา AR Tourism Guide Book ของย่านท่ามะโอ