Showing: 61 - 66 of 66 RESULTS
ข่าวประชาสัมพันธ์ สบตุ๋ย

เชิญเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “การทำขนมปุยฝ้าย”

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “การทำขนมปุยฝ้าย” ในวันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 09.00 -12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการอาหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปางอบรมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ที่ นายจาตุรงค์ แก้วสามดวง ผู้ประสานงานโครงการวิจัยย่อย การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ปละพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย (กิจกรรม Cooking is my passion SDU Learning Space)โทร.084-0423558 (รับจำนวนจำกัดเพียง 12 ท่าน เท่านั้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ ท่ามะโอ

ทีมวิจัยลงพื้นที่ ชี้แจงและเตรียมการดำเนินงานวิจัย ร่วมกับชุมชนท่ามะโอ

ในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 นักวิจัยในโครงการวิจัย “การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และกระบวนการสร้างคุณค่าจากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยเสน่ห์ทางการท่องเที่ยววิถีชีวิตย่านท่ามะโอ” ภายใต้ชุดโครงการวิจัย : การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ลงพื้นที่เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงาน ชี้แจงและเตรียมการดำเนินงานวิจัย ร่วมกับนักวิจัยในพื้นที่และตัวแทนของชุมชนท่ามะโอ ณ บ้านหลุยส์ ที เรียวโนแวนส์ ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาข้อมูลฐานภูมิวัฒนธรรมผ่าน 5 ภูมิวัฒนธรรม เพื่อจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรม พัฒนาพื้นที่เรียนรู้ รวมถึงพัฒนากิจกรรมทางการท่องเที่ยวในรูปแบบสร้างสรรค์และพัฒนา AR Tourism Guide Book ของย่านท่ามะโอ

การประชุม สบตุ๋ย

การประชุมกลุ่มย่อย การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง จัดการประชุมเตรียมความพร้อมกิจกรรมลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้ชุดโครงการ การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม โครงการวิจัยย่อย โครงการวิจัยพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย     ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ในวันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564 ณ ห้องดุสิตา 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง จังหวัดลำปาง นำโดย ดร.ขวัญนภา สุขคร หัวหน้าโครงงานวิจัย เป็นประธานในที่ประชุม

การประชุม

ประชุมเชิงปฏิบัติการ “ลำปาง ฟอรั่ม” วิทยสถานแห่งการพัฒนาจังหวัดลำปาง ครั้งที่ 3 (LAMPANG FORUM #3)

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จังหวัดลำปาง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “ลำปาง ฟอรั่ม” วิทยสถานแห่งการพัฒนาจังหวัดลำปาง ครั้งที่ 3 (LAMPANG FORUM #3) วันที่ 8 มีนาคม 2564 ณ หอประชุมชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง จังหวัดลำปาง โดยการจัดประชุมครั้งนี้มีการระดมความคิดเห็นจากองค์กรภาคประชาชนกว่า 60 แห่ง อาทิ สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดลำปาง สมาคมการท่องเที่ยว จังหวัดลำปาง สถาบันธรรมาภิวัฒน์ สมัชชาการศึกษาจังหวัดลำปาง เครือข่ายพุทธศิลป์ ชมรมครูทัศนศิลป์จังหวัดลำปาง ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรอบการศึกษาและการขับเคลื่อนงานลำปางศึกษา (Lampang Study) และการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ที่จะไปสู่การกำหนดกรอบการเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลหรือ Data Science พัฒนาสู่การเป็นหอศิลปวิทยาการของจังหวัดลำปาง

การประชุม

เวทีการประชุม Lampang Forum 2

เวทีประชุม Lampang Forum #2 ครั้งนี้ จัดขึ้นในวันที่ 19 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปาง โดย ม.สวนดุสิต ศูนย์ลำปาง จัดกิจกรรมที่บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ เพื่อระดมสมองระดมความคิดเห็นว่าด้วยการพัฒนาจังหวัดลำปาง เพื่อค้นหาหลักคิดสำคัญเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นโจทย์งานวิจัยเพื่อนำไปสู่กรอบความคิดในการพัฒนาเมืองลำปางที่ชัดเจนและบรรลุสู่เป้าหมายมากขึ้น ในงานนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นทั้งในเชิงประสบการณ์และองค์ความรู้ ต่อการพัฒนาจังหวัดลำปางอย่างคับคั่ง โดยมีภาคส่วนเข้าร่วมอย่างครอบคลุมจากทั่วจังหวัดลำปาง ได้แก่ ภาครัฐจำนวน 27 หน่วยงาน ภาคธุรกิจและเอกชนจำนวน 8 หน่วยงาน ภาคการท่องเที่ยวจำนวน 12 หน่วยงาน ภาควัฒนธรรมจำนวน 16 หน่วยงาน ภาคเกษตรจำนวน 15 หน่วยงาน ภาคทรัพยากรธรรมชาติจำนวน 2 หน่วยงาน        ภาคการศึกษาจำนวน 7 หน่วยงาน และภาคประชาชนซึ่งเป็นปราชญ์หรือกุญแจสำคัญในการ         ให้ข้อมูลด้านต่าง ๆ อีกหลายท่าน รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวนกว่า …