ลำปางกับแนวทางการพัฒนาสู่เมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ ลำปางศึกษา(Lampang Study) จากภูมิหลังสู่ภูมิอนาคต เพื่อกำหนดทิศทางพัฒนาเมืองบนฐานขององค์ความรู้ (Historical Future Study)รศ.ดร. สุกรี เจริญสุขดร.สุชาติ วงษ์ทองผศ.ดร.ผดุง พรมมูล วันที่ 23 มกราคม 65 เวลา 15.00-17.00 น.ณ ไร่ผดุงธรรม พื้นที่เรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประสบการณ์รูปแบบใหม่ “Organic Life Style” Lampang Learning Space
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม เพื่อกำหนดขอบเขตความรู้ จัดทำแผนที่ความรู้ (Knowledge Map) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรวบรวมฐานข้อมูล 5 ภูมิวัฒนธรรมวันที่ 18 มกราคม 2565เวลา 09.00 น.ณ อาคารหอประชุมชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง ชุดโครงการวิจัย ลำปางศึกษา (Lampang Study) โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปางได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
กิจกรรมที่ 2.2 สัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์สังเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูลชุดความรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม และสารานุกรมลำปางศึกษา
กิจกรรมที่ 2.2 สัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์สังเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูลชุดความรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม และสารานุกรมลำปางศึกษา ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2564 กระบวนการจัดการความรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรมจากและภูมิปัญญาและผู้เชี่ยวชาญ
กิจกรรมที่ 2.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม
กิจกรรมที่ 2.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม จำนวน 2 ครั้ง กลุ่มเป้าหมายครั้งละ 50 คน ในวันที่ 20 ธันวาคม 2564 1และ 8 มกราคม 2565 กระบวนการจัดการความรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรมจากและภูมิปัญญาและผู้เชี่ยวชาญ
กิจกรรมที่ 1.5 จัดทำ Lampang Mapping แหล่งเรียนรู้ลำปางศึกษา
กิจกรรมที่ 1.5 จัดทำ Lampang Mapping แหล่งเรียนรู้ลำปางศึกษา ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2564 กระบวนการจัดระบบข้อมูล
กิจกรรมที่ 1.4 จัดทำฐานข้อมูลบุคคล เครือข่าย แหล่งเรียนรู้ลำปางศึกษา และบรรณานุกรมลำปางศึกษา
กิจกรรมที่ 1.4 จัดทำฐานข้อมูลบุคคล เครือข่าย แหล่งเรียนรู้ลำปางศึกษา และบรรณานุกรมลำปางศึกษา ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2564 กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อจัดหมวดหมู่
กิจกรรมที่ 1.3 ลงพื้นที่สำรวจและรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ 1.2 ทั้ง 4 ฐานข้อมูล
กิจกรรมที่ 1.3 ลงพื้นที่สำรวจและรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ 1.2 ทั้ง 4 ฐานข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2564 ลงพื้นที่สำรวจแหล่งเรียนรู้และรวบรวมใข้อมูล 5 ภูมิวัฒนธรรมและร่วมจัดทำเวทีระดมความคิดเห็นร่วมกับเครือข่ายในการรวบรวมข้อมูลระดับอำเภอ
กิจกรรมที่ 1.2 การจัดเวทีเพื่อกำหนดขอบเขตความรู้ และจัดทำแผนที่ความรู้ และกระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อรวบรวมฐานข้อมูล 4 ฐาน โดยใช้เครื่องมือในการศึกษาแบบ Snow Ball Technique
กิจกรรมที่ 1.2 การจัดเวทีเพื่อกำหนดขอบเขตความรู้ และจัดทำแผนที่ความรู้ และกระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อรวบรวมฐานข้อมูล 4 ฐาน โดยใช้เครื่องมือในการศึกษาแบบ Snow Ball Technique จำนวน 1 ครั้งกลุ่มเป้าหมาย 30 คน ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 3 ธันวาคม 2564 และ 14 ธันวาคม 2564 การจัดกิจกรรมดำเนินการใน 2 รูปแบบ คือ1) รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เรีกว่าข่วงผญ่า โดยจัดนิทรรศการและนำเสนอ 5 ภูมิวัฒนธรรมจากเครือข่ายและแหล่งเรียนรู้จากพื้นที่ต่างๆ โดยจัด 2 ครั้ง ณ พื้นที่การเรียนรู้ข่วงหลวงเวียงละกอนกับพื้นที่การเรียนรู้บ้านหลุยส์ 2) รูปแบบเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระมความความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตความรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม
ทีมวิจัยสวนดุสิต ศึกษาดูงาน และเรียนรู้กระบวนการพัฒนาสินค้าจากครั่ง
ลำปางยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมาย.….…….มาเรียนรู้ตัวเอง…เพื่อขับเคลื่อนอนาคต ขอขอบพระคุณ คุณอนุศิษฏ์ ภูวเศรษฐ บริษัท ครีเอเซียมิลล์ จำกัด อดีตกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยคุณอภิชัย สัชฌะไชย และภรรยา จากบริษัท นอร์ทเทอร์สยามซีดแลค จำกัด ที่กรุณาให้ทีมวิจัยของสวนดุสิต ศึกษาดูงานเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2564 และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาสินค้าจากครั่ง เชิงเกษตรแปรรูปเพื่อการพาณิชย์ โดยใช้ระบบกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เพื่อการส่งออกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยมีประเภทของสินค้าคือ ครั่งเม็ดแปรรูป และ สีผสมอาหาร สกัดจากครั่งธรรมชาติ (เจ้าแรกและเจ้าเดียวในประเทศไทย) และการผลิต แชลแล็คขาวชนิด Bleached Shellac (Dewaxed) เกรดอุตสาหกรรมอาหารและยา ส่งจำหน่วยทั่วโลก มาร่วมพัฒนาและสร้างนวัตกรรมต่อยอดครั่งลำปางกันนะคะ
กิจกรรมที่ 1.1 การจัดเวทีประชาคมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจกระบวนการและกรอบการวิจัยลำปางศึกษา
กิจกรรมที่ 1.1 การจัดเวทีประชาคมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจกระบวนการและกรอบการวิจัยลำปางศึกษา จำนวน 1 ครั้งกลุ่มเป้าหมายทุกภาคส่วนใน 4 กลุ่ม จำนวน 50 คน ในวันที่ 23-24 มิถุนายน 2564 และ 1 สิงหาคม – 15 กันยายน 2564 การจัดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1)การจัดเวทีภายใต้โครงการวิจัยโดยจัดกิจกรรม 2 ครั้ง 2) สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับทุกภาคส่วนในการจัดเวทีร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดลำปางและแผนเทศบาลนครลำปาง