สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ โรงเรียนการเรือน ศูนย์ลำปาง ร่วมกับศูนย์จีนศึกษา จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ Gastronomic excellences “เจียะม้วย” อาหารจากรากฐานทางวัฒนธรรมชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋ว วิถีแห่งการรับประทานอาหารจากยุคแรกเริ่มเมื่อโล้สำเภามาอยู่ในประเทศไทย ผ่านเซ็ทเมนูอาหารแบบดั้งเดิมผ่านข้าวต้มกุ้ยทานคู่กับกรวดแช่น้ำเกลือผสมซีอิ้ว ที่สะท้อนถึงช่วงเวลาแห่งความยากลำบากในการลี้ภัยและย้ายถิ่นฐาน การปรุงประกอบอาหารแบบง่ายๆ ในยุคนั้นจึงถือเป็นอาหารทางจิตวิญญาณที่แสดงถึงความกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด และเมื่อความเป็นอยู่เริ่มดีขึ้นยุคต่อมาจึงเป็นเมนูประเภท “เกี้ยม” เป็นอาหารที่มีรสเค็ม ผ่านเมนู เต้าหู้ยี้ กาน่าฉ่าย และถั่วลิสงเม็ดเล็กทอด
.
🍜ต่อมาเป็นยุคที่สื่อถึงการผสมผสานร่วมกับวัฒนธรรมอาหารของคนไทยที่มีรสจัด เช่น อาหารประเภทยำ ผ่านเมนูยำเกี้ยมฉ่าย หรือยำผักกาดดอง
ยุคต่อมาคือยุคที่เริ่มลงหลักปักฐานมีเวลาในการประกอบอาหารมากขึ้น จึงมีการใช้วัตถุดิบในการประกอบอาหารที่ดีและหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น ใบปอ ไชโป๊วผัดไข่ที่มีกลิ่นหอมของกระทะที่ใช้ในการผัด และตัวไชโป๊วยังคงมีลักษณะกรอบนอกนุ่มใน ยุคสุดท้ายเป็นยุคความรุ่งเรื่อง ประกอบด้วยเมนู หมูหยองและหมูต้มป๊วย
.
🍜ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา “ศาสตร์และศิลปะอาหาร” โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ดร. นิพัทธ์ชนก นาจพินิจ บรรยายถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ สาขาการศึกษาปฐมวัย สาขาวิชาการประถมศึกษา และสาขาธุรกิจการบิน ณ หอประชุมชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2566