Big thanks to the teachers from Suan dusit University and Thammasat University for sharing the knowledge of the English teaching and communicative skills under the concept of Upskill , Reskill and to develop all dimensions of a learning city in the present and future world.Next Talk is just around the corner!Please be sure to Like …
‘กองคร๊าฟต์’ ณ กองต้า
กิจกรรม Learning space เรียนรู้อัตลักษณ์ลำปาง อีกหนึ่งรูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนเมืองลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ กระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงบูรณาการการทำงานของเครือข่ายคนทำงานในลำปาง จากแนวคิดเริ่มต้นจากจุดเล็กๆขยายตัว ต่อยอด สร้างสรรค์งานร่วมกัน จนเกิด ‘กองคร๊าฟต์’ ณ กองต้า ระหว่างวันที่ 2 – 3 ตุลาคม 2564 ณ กาดกองต้า จังหวัดลำปาง
เชิญชวนรับฟัง SDU&TU TALK
เชิญชวนรับฟัง การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ด้าน การสอนภาษาอังกฤษ โ ดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯลำปาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ฯลำปาง ในหัวข้อ …Teaching Communicative Skills in English: Online/On-site (Experiences, Practical Strategies and Professional Development.)… #บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีวิทยากร ดังนี้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯลำปาง1. อาจารย์ศิริกร โรจนศักดิ์2. อาจารย์ Victor James Matthews3. อาจารย์เสาวธาร สมานิตย์4. อาจารย์รัตนา กลิ่นจุ้ย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ฯลำปาง1. ผศ.ดร.จงรักษ์ สิทธิรักษ์2. ดร.สุมิตา สุภากรณ์3. อาจารย์วรางคนา พงศธรพิพัฒน์ ภายใต้ กิจกรรม SDU Learning Space : SDU เปิดพื้นที่การเรียนรู้ทุนทางสังคมวัฒนธรรมย่านสบตุ๋ย โครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย โดยศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง …
“กิจกรรมอู้จ๋า…จิบน้ำชา ย้อนวันวานย่านสบตุ๋ย”
วันที่ 25 กันยายน 2564 เวลา 14.00น. ณ บ้านพระยาสุเรนทร์ นายจำลักษณ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิด “กิจกรรมอู้จ๋า…จิบน้ำชา ย้อนวันวานย่านสบตุ๋ย” ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเมืองเขลางค์นคร ร่วมกับชมรมช่างภาพจังหวัดลำปาง เพื่อส่งเสริมรายได้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในช่วงวิกฤติการณ์โรคระบาด COVID 19 ให้กับผู้ประกอบการนำเที่ยว รถม้าลำปาง ร้านค้า ของฝาก ของที่ระลึก ที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อต่อลมหายใจคนขับรถม้าให้อยู่คู่กับคนลำปาง สนับสนุนร้านค้า และเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤติไปได้โดยมี นางวลีย์รัตน์ วิภาศรีนิมิตร ไลนส์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเมืองเขลางค์นคร กล่าวต้อนรับ และมี นายวิสูตร บัวชุม ผอ.ททท.สนง.ลำปาง, ดร.ขวัญนภา สุขคร ผอ.ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง ม.สวนดุสิต, นางชุลีวันท์ สายสิงห์ทอง ที่ปรึกษา นายก อบจ.ลำปาง, นายนิทัศน์ เยาวสกุลมาศ เลขานุการมํลนิธิลำปางสงเคราะห์ ร่วมเสวนา และมี นางพรเพ็ญ ชัยสิทธิพล …
อ.จันทร์สม เล่าให้หลานฟังเรื่องความหลังกาดเก๊าจาว
เมื่อวันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ.2564 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปางได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดกิจกรรม ตลาดนัดการเรียนรู้คนสามวัย (3Gen)ในหัวข้อ “เล่าให้หลานฟังเรื่องความหลังกาดเก๊าจาว”📢วิทยากร: อ.จันทร์สม เสียงดี (รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง)🎤ผู้ดำเนินรายการ: อ.ดร.ศศิธร รณะบุตร โดยถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊คเพจ Lampang Learning City เวลา 14.30 – 16.00 น. อ.จันทร์สม เสียงดี รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง ให้เกียรติมานั่งย้อนความหลัง เกี่ยวกับ ความเป็นมาของกาดเก๊าจาว วิถีชีวิตของคนแถบแม่น้ำวัง แม่น้ำสบตุ๋ย สถานีรถไฟฟ้า รวมไปถึงอาหารการกิน วัฒนธรรมชาวจีน การละเล่น และสารพันความรู้เล็กๆน้อยๆที่ซ่อนอยู่ในวิถีชีวิตของชาวลำปางในยุคก่อน ” ของกิน ถ้าบ่กินมันก็จะเน่า เรื่องเก่า ถ้าบ่เล่า มันก็จะหาย”
“กุยช่ายสวนดุสิต พิชิตใจต้นตำรับ”
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “กุยช่ายสวนดุสิต พิชิตใจต้นตำรับ”ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564 ตั้งแต่เวลา 08.30 -12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการอาหารมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปาง กุยช่ายสูตรของสวนดุสิต สอนโดย อาจารย์ สุรีย์พร ธัญญะกิจ อาจารย์สาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง และคณาจารย์ประจำสาขา ฯ โดยทำในรูปแบบดั้งเดิม ทั้งใส้กุยช่ายและหน่อไม้ เสิร์ฟพร้อมกับน้ำจิ้มรสแซ่บ ผู้เรียนได้ลงมือทำตั้งแต่การนวดแป้ง ผัดใส้ ห่อ และนึ่ง และยังนำกลับไปรับประทานที่บ้าน โดยกิจกรรมนี้จัดให้กับผู้สนใจเข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นหลังจากยกซึ้งลงจากเตา เราก็รีบยกกุยช่ายร้อนๆพร้อมน้ำจิ้ม ตรงไปยังร้านกุยช่ายเฮียเริญ กุยช่ายเจ้าดังย่านสบตุ๋ย ต้นตำรับที่ขายกุยช่ายมานานกว่า 40 ปี พอได้ชิม เฮียเริญก็ใจดี ให้คำแนะนำและเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆ พร้อมกับเล่าเรื่องความเป็นมาของสูตรต้นตำรับ ที่ครองใจชาวสบตุ๋ย และผู้มาเยือนอย่างยาวนาน กิจกรรม Cooking is …
ขอเชิญเข้าร่วมรับฟัง “เล่าให้หลานฟังเรื่องความหลังกาดเก๊าจาว”
ขอเชิญเข้าร่วมรับฟัง ตลาดนัดการเรียนรู้คนสามวัย (3Gen)“เล่าให้หลานฟังเรื่องความหลังกาดเก๊าจาว”📢วิทยากร: อ.จันทร์สม เสียงดี (รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง)🎤ผู้ดำเนินรายการ: อ.ดร.ศศิธร รณะบุตร โครงการวิจัย: การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรมจัดโดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปางได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม “กุยช่ายสวนดุสิต พิชิตใจต้นตำรับ”
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)>> ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “กุยช่ายสวนดุสิต พิชิตใจต้นตำรับ”ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564 ตั้งแต่เวลา 08.30 -12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการอาหารมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปางอบรมฟรี!!!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย>>ผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ที่นายจาตุรงค์ แก้วสามดวง ผู้ประสานงานโครงการวิจัยย่อย การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย (กิจกรรม Cooking is my passion SDU Learning Space)โทร.084-0423558(รับจำนวนจำกัดเพียง 12 ท่าน เท่านั้น)
กิจกรรม จิบชา แอ่วชุมชนรถม้า บ้านนาก่วม
วันนี้ปาแอ่วบ้านนาก่วมอีกหนึ่งชุมชนย่านสบตุ๋ยบ้านนาก่วมวิถีแห่งชุมชนคนรถม้า เสน่ห์แห่งอัตลักษณ์ชุมชนเลียบน้ำวังฝั่งตะวันออก วิถีแห่งความเรียบง่ายและพอเพียง ผ่านกิจกรรม จิบชา แอ่วชุมชนรถม้า บ้านนาก่วม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2564 เวลา 13.30 – 17.00 น. กิจกรรม SDU Learning Space : SDU เปิดพื้นที่การเรียนรู้ทุนทางสังคมวัฒนธรรมย่านสบตุ๋ยโครงการวิจัย : การพัฒนาเมืองลำปางสู่มืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม โดยศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับการสนับสนุนจากกองกุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
Lampang Public Forum การจัดทำแผนที่ความรู้ (KNOWLEDGE MAP)และจัดการความรู้ฐานทุนทางสังคมวัฒนธรรมย่านสบตุ๋ย
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดกิจกรรม Lampang Public Forum สบตุ๋ย “ในมุมมองจากภูมิหลังสู่ภูมิแห่งอนาคต” กิจกรรม จัดทำแผนที่ความรู้ (KNOWLEDGE MAP)และจัดการความรู้ฐานทุนทางสังคมวัฒนธรรมย่านสบตุ๋ย ในวันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 14.30 – 16.30 น. ผ่านเฟซบุ๊คไลฟ์ Lampang Learning City โครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย ภายใต้ชุดโครงการ: การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปางได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)นำเสนอกรอบคิดการวิจัยโดย ดร.ขวัญนภา สุขครผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (หัวหน้าชุดโครงการ) วิทยากรร่วมเวทีเสวนา 1. ผศ.ดร.ผดุง พรมมูล ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2. คุณสุรพล ตันสุวรรณ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครลำปาง3. ผศ.ดร.กนกวรรณ อู่ทองทรัพย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางดำเนินรายการโดย ดร.ศศิธร รณะบุตร นักวิจัย