กิจกรรม

โครงการย่อยที่ 1 : พัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วม

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้

  • แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้
  • จัดประชุมระดมความคิดเห็นวิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมของจังหวัดในการพัฒนาไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตามเกณฑ์ สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต” หรือ UNESCO Institute for Lifelong Learning (UIL) และกำหนดภาพอนาคต ทิศทางและกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จำนวน 1 ครั้งๆละ 50 คน
  • จัดทำร่างกรอบทิศทางในการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้
  • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอกรอบทิศทางในการขับเคลื่อนและระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงานโครงการ กิจกรรมภายใต้กรอบทิศทางในการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน จำนวน 1 ครั้งๆละ 50 คน
  • จัดทำร่างแผนแม่บทในการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้
  • จัดเวทีวิพากษ์แผนแม่บทในการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ 1 ครั้ง จำนวน 1 ครั้งๆละ 50 คน
  • แผนแม่บทในการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้

กิจกรรมที่ 2 Learning space เรียนรู้อัตลักษณ์ลำปาง จำนวน 3 ครั้ง เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยน นิทรรศการ สาธิต แหล่งเรียนรู้ของลำปาง

กิจกรรมที่ 3 Story Telling ลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ อบรมเชิงปฎิบัติการ Story Telling นักเล่าเรื่องเมืองเก่าลำปาง 3 ยุค จำนวน 30 คน จำนวน 1 วัน ให้ความรู้เชิงทฤษฎี ลงสำรวจพื้นที่จริงนำโดยผู้เชี่ยวชาญ สังเคราะห์ข้อมูลจัดทำเรื่องเล่า ฝึกปฏิบัติจริงในสถานที่จริง

         กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมเรียนรู้นั่งรถรางแลเมืองเก่าลำปาง 3 ยุค ให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชน และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 3 ครั้ง          กิจกรรมที่ 5จัดเวทีประเมินผลการดำเนินงานและการถอดบทเรียนการพัฒนาระบบและกลไกการพัฒนาและการบริหารเมืองแห่งการเรียนรู้จำนวน 1 ครั้งกลุ่มเป้าหมาย 50 คน