LAMPANG SDU แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้การดำเนินงาน โครงการบริการวิชาการปัญญาแห่งอนาคต
“Lifelong Professional and skills build up center”
จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปี โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศในภาพรวมของปี พ.ศ. 2580 ไว้ว่า “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม ภายใต้การวิเคราะห์สถานการณ์ภาพรวมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนี้
ภาพรวมสถานการณ์ภายในประเทศ
- ความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ที่ส่งผลต่อการสร้างความสามัคคีในสังคมและเป็นข้อจำกัดต่อการยกระดับศักยภาพทุนมนุษย์
- โครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ วัยเด็กและวัยทำงานลดลง ประชากรทุกช่วงวัยมีปัญหาเชิงคุณภาพ
- เศรษฐกิจไทยได้รับความท้ายทายจากการเป็นสังคมสูงวัย และการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้าน
- ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติและแรงงาน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
ภาพรวมสถานการณ์ภายนอกประเทศ
- กระแสโลกาภิวัฒน์ การเคลื่อนย้ายเสรีของคน เงินทุน ข่าวสาร เทคโนโลยี สินค้าและบริการ
- ศูนย์รวมอำนาจทางเศรษฐกิจย้ายมาเอเชีย การรวมกลุ่มของเศรษฐกิจในภูมิภาค
- การแย่งชิงแรงงานและเงินทุน จากการเข้าสู่สังคมสูงวัยของโลก
- การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีส่งผลต่อภาคธุรกิจและการใช้ชีวิตของประชาชน
- ภาวะโลกร้อนและสภาวะภูมิอากาศที่ผันผวนก่อให้เกิดภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นแรงกดดันให้มีการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ราคาน้ำมันมีความผันผวนและการผลิตพืชพลังงานทดแทนส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก
- ความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่องภายใต้ข้อจำกัดและกฎเกณฑ์การใช้พื้นที่และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- หลักบริหารจัดการทีดี ระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนมีความเข้มข้นมากขึ้น
ประกอบกับข้อมูลการวิเคราะห์ในเชิงธุรกิจและองค์ความรู้ใหม่ที่ประชาชนต้องการของหน่วยงานเอกชนระดับประเทศ อาทิ หน่วยงาน TCDC (Thailand Creative and Design Center) หรือ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ซึ่งมีการจัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงความรู้ เพื่อที่จะเป็นแรงานบันดาลใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ โดยระบุว่า ประเด็นความเปลี่ยนแปลงและทัศนคติหรือความต้องการของผู้คนในด้านความรู้นั้นจะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละเจเนอเรชัน โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมรอบตัว สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรม อันก่อให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในเชิงทัศนะคติและการสร้างสิ่งใหม่ในรูปแบบการแก้ปัญหาด้วยความความเข้าใจที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือที่หลากหลาย ทั้งจากกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) สู่การลงมือทำเชิงสร้างสรรค์ (Design Doing) เป็นต้น
ดังนั้น ในการดำเนินงานของศูนย์บริการวิชาการ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้มีการดำเนินงาน โครงการบริการวิชาการปัญญาแห่งอนาคต “Lifelong Professional and skills build up center” ภายใต้โมเดลการดำเนินงาน SURVIVE คือ การพัฒนาบนพื้นฐานของความยั่งยืนเพื่อความอยู่รอด แข่งขันได้ระดับสากล
S U R V I V E

S = Suan Dusit University การบริการวิชาการบนฐานศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ และคำนึงถึงผลกระทบเชิงประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย
U = Universal การพัฒนากระบวนการบริการวิชาการเพื่อยกระดับมาตรฐานสู่ความเป็นสากล
R = Responsibility for our globe การดำเนินงานบริการวิชาการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก
V = Voice of green การดำเนินงานบริการวิชาการที่สอดรับในทิศทางการสร้างสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม
I = Innovation & Information technology for all generation การดำเนินงานบริการวิชาการในเชิงนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเจาะลึกความต้องการเพื่อการพัฒนาของกลุ่มเป้าหมายในทุกช่วงวัย
V = Volunteerism การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาคนบนพื้นฐานแห่งประโยชน์ส่วนรวม
E = Empowerment from SDU การบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากฐานความเป็นเลิศของสวนดุสิต
โดยเป็นการปรับปรุงรูปแบบการดำเนินงานจากเดิม คือ โครงการบริการวิชาการสู่ความเป็นเลิศสู่รูปแบบใหม่ให้มีความสอดคล้องกับบริบทในมิติของกระแสการพัฒนาและความต้องการของผู้บริการในทุกกลุ่มและทุกวัยมากยิ่งขึ้น
” ปัญญาแห่งอนาคต ” บทต่อของ การดำเนินงานบริการวิชาการในฐานคลังสมองของท้องถิ่น
จากจุดเริ่มต้นในการดำเนินงานบริการวิชาการเพื่อสร้าง
ความเข้มแข็งแก่สังคม ชุมชน ท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง ในนามการดำเนินงานภายใต้
หนึ่งพันธกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา สู่ 20 ปีของการสั่งสมประสบการณ์
และความเชื่อมั่น ก่อเกิด “ศูนย์นวัตกรรมปัญญา
แห่งอนาคต” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ต่อการเป็นหน่วยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาคนในทุกช่วงวัย
ด้วยกระบวนการบริการวิชาการที่ตั้งอยู่บนฐานความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
และเป็นคลังสมองของท้องถิ่นที่ยังมุ่งขับเคลื่อนงานบริการวิชาการ
เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่สังคม ชุมชน และท้องถิ่นต่อไป ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินงานใน 6 รูปแบบสำคัญ
รูปแบบที่ 1 กิจกรรมการบริการวิชาการสังคมและชุมชนบนพื้นฐานและความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย
รูปแบบที่ 2 กิจกรรมบริการวิชาการในการพัฒนาเชิงพื้นที่(Area Based Development)
รูปแบบที่ 3 กิจกรรมการบริการวิชาการรูปแบบที่ปรึกษาและงานวิจัยรวมทั้งการสำรวจความคิดเห็น
(ในลักษณะสัญญาจ้าง)
รูปแบบที่ 4 กิจกรรมบริการวิชาการรูปแบบหลักสูตรอบรมระยะสั้นและวิทยากรบรรยายถ่ายทอด
องค์ความรู้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้ง on site online
รูปแบบที่ 5 กิจกรรมบริการวิชาการรูปแบบศูนย์มาตรฐานและ
ยกระดับศักยภาพการเรียนรู้
รูปแบบที่ 6 กิจกรรมบริการวิชาการรูปแบบธุรกิจวิชาการโครงการพิเศษของศูนย์
